ทดลอง

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551

บทคัดย่อวิจัย

เรื่อง ผลการใช้กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อการจำแนกและเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย ปวีณา พลับน้อย
ปีที่วิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
อาจารย์อุบล นวมตระกูล
อาจารย์รัศมี ไชยสิงห์

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ ศึกษาการใช้กิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อการจำแนกและเปรียบเทียบของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/2 และชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1/2 และนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี) สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) ชั้นอนุบาลปีที่ 1/2 จำนวน 39 คน และชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 จำนวน 38 คน เพื่อจัดกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 40 นาที
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบทดสอบทักษะทางวิทนาศาสตร์ ด้านการจำแนกและเปรียบเทียบ โดยใช้แบบทดสอบจำนวน 79 ชุด เป็นสื่อหลังจากที่ได้ทำกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ 1. เสียงตามสาย 2. น้ำแปลงร่าง 3. การจมการลอย 4. ลูกโป่งไฟฟ้าสถิต 5. อากาศต้องการที่อยู่ 6. ถอยห่าง 7. ลูกโป่งฟองสบู่ 8. ร่มมหาสนุก 9. ทิชชู่เปลี่ยนสี 10. ผักกินสี คระผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ( By Yourself ) การวิเคราะห์ข้อมูลทางสติถิ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ( SPSS/FW ) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับระดับพัฒนาการทางสติปัญญาหลังการเล่นเกมการศึกษา โดยการทดสอบสมมุติฐาน การหาค่าเฉลี่ย ( X ) การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t- test) แบบ Dependemt Samples
ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ชั้นอนุบาลปีที่ 1/2 อายุ 4-5 ปี และชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 2/2 อายุ 5-6 ปี ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001